งานบริการธุรกรรมเงินสกุลหยวน
ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นธนาคารที่ทำธุรกรรมเฉพาะเงินสกุลหยวนในประเทศไทย ยินดีต้อนรับลูกค้าทุกท่านมาทำธุรกรรมเงินสกุลหยวน พร้อมยินดีให้บริการสอบถามทางโทรศัพท์ หรือ EMAIL เนื่องด้วยนโยบายการดำเนินแผนงานธุรกรรมด้านเงินสกุลหยวนมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เราขอแนะนำให้ท่านสอบถามข้อมูลกับทางธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ก่อนที่ท่านจะดำเนินธุรกรรมเงินหยวน
1. ประเภทและเงื่อนไขในการให้บริการธุรกรรมสกุลเงินหยวนของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
1.1. ฝากเงินหยวน: ปัจจุบันธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) สามารถรับฝากเงินออมทรัพย์และฝากเงินประจำ โดยเงินฝากประจำมีกำหนดระยะเวลา 5 รูปแบบคือ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน และ 24 เดือน
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ บัญชีเงินฝากประจำ
1.2. แลกเปลี่ยนเงินหยวน: เงินหยวนสามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินสกุลอื่นได้ เงินสกุลอื่นก็สามารถแลกเปลี่ยนเป็นเงินหยวนได้เช่นกัน
1.3. โอนจ่ายเงินหยวน: เมื่อลูกค้าของธนาคารต้องการโอนเงินจากธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ไปยังประเทศจีน ต้องแน่ใจว่าบัญชีผู้รับที่อยู่ในประเทศจีนสามารถรับการโอนเงินหยวนข้ามประเทศได้ และอยู่ในรายชื่อธุรกิจและเขตพื้นที่ตามประกาศของธนาคาร The People's Bank of China(PBC) หรือได้รับการอนุมัติจากธนาคาร The People's Bank of China(PBC) มิฉะนั้นเงินหยวนที่โอนไปยังประเทศจีนจะไม่สามารถเข้าบัญชีได้ และต้องส่งคืนกลับสู่ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งลูกค้าจะต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียมในการโอนเงิน คืนเงิน และถ้าเงินหยวนที่โอนเป็นการแปลงมาจากเงินสกุลอื่น จะต้องรับผิดชอบค่าเสียหายจากการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน
1.4. รับเงินหยวนโอนเข้า: เมื่อมีเงินหยวนโอนเข้า และได้รับการตรวจสอบจากธนาคารในประเทศเรียบร้อยแล้ว เงินจะเข้าในบัญชีธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) โดยตรง
1.5. กู้ยืมเงินหยวน: ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ยินดีให้บริการเงินกู้แก่ธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้เงินหยวนในการบริหารกิจการ ธุรกิจที่ขอกู้เงินต้องมีเครดิตความน่าเชื่อถือสอดคล้องตามเงื่อนไขของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
1.6. ระบบชำระเงินหยวนที่เป็นมาตรฐานสากล (International Settlements)
1.7. เอกสารรับรองการนำเข้า: ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) จะออก L/C เงินหยวนให้กับผู้ยื่นขอตามเงื่อนไขเครดิตของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือจำนวนเงินค้ำประกันทั้งหมดที่ฝากไว้ ใบรายการที่ต้องใช้ในการขอเปิด L/C การนำเข้าของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) รวมถึงใบสั่งสินค้า ใบขนส่ง เป็นต้น
เปิด L/C (Letter of Credit)
1.8. เอกสารเรียกเก็บสินค้าเข้า: รวมถึงส่งมอบเอกสารเมื่อได้รับการชำระเงิน(D/P) และเอกสารเมื่อผู้ซื้อรับรองตั๋วแลกเงิน(D/A) ซึ่งตั๋วเรียกเก็บสินค้าเข้ารวมถึงใบสั่งสินค้า ใบขนส่งทางอากาศ เป็นต้น
ตั๋วเรียกเก็บเข้า
1.9. ใบแจ้งตราสารเครดิต (Letter of Credit, L/C): เหมือนเป็นหลักฐานแจ้งชำระเงินต่อธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) เอกสารหลักฐานรวมถึงใบสั่งสินค้า ใบขนส่งทางอากาศ เป็นต้น
ใบแจ้งตราสารเครดิต (Letter of Credit, L/C)
1.10. หนังสือแจ้งยืนยันการชำระเงินตาม L/C (Confirmation of L/C): หลังจากที่ตรวจสอบว่าเงื่อนไข L/C และคุณสมบัติธนาคารผู้เปิด L/C (Issuing Bank) สอดคล้องตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) จึงจะรับประกันตราสารเครดิตเป็นเงินหยวน
หนังสือแจ้งยืนยันการชำระเงินตาม L/C
1.11. รายการตรวจสอบ/รับจ่าย L/C: ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ยินดีตรวจสอบ L/C ของบุคคลที่ทำรายการกับธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย บริษัทสามารถส่งแฟกซ์ หรือ EMAIL ใบรายการให้กับธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) หลังจากที่ทางธนาคารตรวจสอบแล้วจะรายงานผลทางโทรศัพท์ แฟกซ์ หรือ EMAIL หลังจากนั้นบริษัทของท่านสามารถส่งหลักฐานตัวจริงให้กับธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) อีกครั้ง เมื่อธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ตรวจสอบแล้วจะเรียกเก็บเงินจากธนาคารผู้เปิด L/C ให้
ใบรายการตรวจสอบ L/C
1.12. ตราสินไหมทดแทนส่งออก: ตราสินไหมทดแทนส่งออก รวมถึงใบสั่งสินค้า ใบขนส่งทางอากาศ เป็นต้น
ตราสินไหมทดแทนส่งออก
1.13. เปิดหรือโอนหนังสือค้ำประกันเงินหยวน: ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ยินดีออกหนังสือค้ำประกันเงินหยวนรูปแบบต่างๆ ให้กับผู้ยื่นขอตามเงื่อนไขเครดิตของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือจำนวนเงินค้ำประกันทั้งหมดที่ฝากไว้ และสามารถโอนหนังสือค้ำประกันจากธนาคารที่อยู่นอกประเทศจีนไปยังประเทศจีน หรือหนังสือค้ำประกันจากในประเทศจีนออกไปยังนอกประเทศจีน
หนังสือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา(Performance Guarantee)
หนังสือค้ำประกันยื่นซองประกวดราคา(Bid Bond)
หนังสือค้ำประกันการชำระเงินล่วงหน้า (Advance Payment Guarantee)
หนังสือค้ำประกันทางการเงิน(Financing Guarantee)
หนังสือค้ำประกันการจ่าย(Letter of Guarantee for Payment)
หนังสือรับประกันคุณภาพ/ซ่อมบำรุง(Quality/Maintenance Guarantee)
หนังสือค้ำประกันร่วม(Counter Guarantee)
2. การค้าระหว่างประเทศสกุลเงินหยวน
2.1. เอกสารเรียกเก็บสินค้านำเข้า (Import Bill Advance): ในสภาวะที่สอดคล้องกับข้อกำหนดเรื่องเครดิตของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ธนาคารสามารถเป็นตัวแทนบริษัทนำเข้าจ่ายเงินหยวนให้กับรายการสั่งซื้อที่มีผลทางกฎหมาย
2.2. เอกสารเรียกเก็บสินค้าส่งออก (Export Bill Advance): สำหรับธนาคารผู้เปิด L/C และการตรวจสอบรายการสั่งซื้อ L/C เงินหยวนสอดคล้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข L/C ธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) สามารถให้สินเชื่อกับใบรายการสินค้าทั้งหมด
2.3. สินเชื่อเพื่อธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์: สำหรับธนาคารผู้เปิด L/C เมื่อตรวจสอบเครดิตของผู้รับผลประโยชน์สอดคล้องกับเงื่อนไขของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) จึงจะเปิดสินเชื่อสำหรับซื้อผลิตภัณฑ์ ผลิตและขนส่งสำหรับใบรายการ L/C
2.4. เอกสารในการเปิดบัญชีเงินหยวน
2.4.1. แบบฟอร์มการขอเปิดบัญชีของบริษัท (รับจากธนาคาร)
2.4.2. มติของคณะกรรมการบริหารบริษัท (รับจากธนาคาร)
2.4.3. สำเนาหนังสือจดทะเบียนบริษัทต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
2.4.4. หนังสือรับรอง(ตัวจริง)กับสำเนาที่ออกโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน
2.4.5. คณะกรรมการบริหารบริษัทผ่านวาระ โดยคณะกรรมการยินดีรับผิดชอบเปิดบัญชีและผู้มีอำนาจเซ็นชื่อในเอกสารที่เกี่ยวข้อง (ยื่นขอเปิดบัญชี)
2.4.6. สำเนาบัตรประชาชนของผู้มีอำนาจที่ได้รับมอบหมายให้ลงนามในบัญชีของบริษัท บุคคลสัญชาติไทยใช้สำเนาบัตรประชาชนกับสำเนาทะเบียนบ้าน ชาวต่างชาติใช้สำเนาพาสปอร์ตกับสำเนาหนังสือรับรองการทำงาน
2.4.7. สำเนาโครงสร้างองค์กรและข้อกำหนดของบริษัท (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
2.4.8. สำเนาหนังสือจดทะเบียนการเสียภาษีการค้าจากกรมสรรพากรหรือสำเนาหนังสือจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
2.4.9. สำเนาตราภาษีอากร
2.4.10. คณะกรรมการของบริษัทที่มีหุ้นอยู่มากกว่า 20% ให้ส่งมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคณะกรรมการผู้นั้น บุคคลสัญชาติไทยใช้สำเนาบัตรประชาชนกับสำเนาทะเบียนบ้าน ชาวต่างชาติใช้สำเนาพาสปอร์ตกับสำเนาหนังสือรับรองการทำงาน
3. ดำเนินธุรกรรมเงินหยวนกับธนาคารแห่งประเทศจีนอย่างไร
ธุรกรรมเงินหยวนทั้งหมดสามารถยื่นขอดำเนินการได้ที่เคาน์เตอร์ของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ถ้ามีการลงนามข้อตกลงกับทางธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ว่ายอมรับการดำเนินการทางแฟกซ์ จึงจะสามารถดำเนินการทางแฟกซ์ได้ สำหรับธุรกรรมเกี่ยวกับเครดิต เช่น เปิดตั๋วรับรอง เปิดหนังสือค้ำประกัน การรับซื้อตั๋วส่งออก สินเชื่อเพื่อธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ต้องยื่นเรื่องต่อธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน) ก่อน หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศจีสาขากรุงเทพฯ ตรวจสอบเครดิตแล้ว จึงจะสามารถดำเนินการได้ (ยกเว้นการเปิดตั๋วเงินค้ำประกันทั้งหมดกับหนังสือค้ำประกัน)
ข้อแนะนำ
3.1. รายการธุรกรรมสกุลเงินหยวนตามด้านล่างนี้ จำเป็นต้องตรวจสอบว่าธุรกิจที่ท่านติดต่อ (ต่อจากนี้เรียกย่อว่า "ธุรกิจที่ติดต่อ") อยู่ในรายชื่อประกาศเขตทดลองและรายการธุรกิจทดลองของธนาคารแห่งประเทศจีน (The People's Bank of China (PBC)) หรือไม่
3.1.1. บริการเงินโอนต่างประเทศขาออกสกุลหยวน (Outward Remittance)
3.1.2. ชำระหนี้ระหว่างประเทศสกุลหยวน (International Settlements)
3.1.3. สินเชื่อการค้าระหว่างประเทศสกุลหยวน(trade financing)
ถ้าหากว่าธุรกิจที่ติดต่อไม่อยู่ในรายการ ให้ดำเนินการยื่นเสนอชื่อเข้าสู่รายการทดลองต่อธนาคารประชาชนจีน (The People's Bank of China (PBC)) ในประเทศจีนก่อน
3.2. รายการธุรกรรมเงินสกุลเงินหยวนตามด้านล่างนี้ ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบว่าธุรกิจที่ติดต่ออยู่ในรายชื่อประกาศของธนาคารแห่งประเทศจีนหรือไม่
3.2.1. ฝากเงินหยวน
3.2.2. แลกเปลี่ยนเงินหยวน
3.2.3. กู้ยืมเงินหยวน
4. มาตรฐานค่าธรรมเนียมและอัตราดอกเบี้ยของธุรกรรมการเงินหยวน
- ค่าบริการบัญชีดูจากประกาศมาตรฐานค่าธรรมเนียมธุรกรรมการเงินหยวนของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)
- อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ดูได้จากประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินฝากสกุลหยวนของธนาคารแห่งประเทศจีน (ไทย) จำกัด (มหาชน)